หลายท่านเข้าใจว่าจะทำธุรกิจอะไรสักอย่างมันสามารถเริ่มต้นได้ง่ายดาย แค่มีความรู้เรื่องธุรกิจ มีเงิน มีเพื่อนก็ไปจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ก็สามารถเริ่มต้นธุรกิจได้ทันที หากมีเงินมาก ๆ ก็จ้างพนักงานไว้เยอะ ช่วยแก้ปัญหาให้บริษัท แค่นี้ก็สบาย ๆ ไม่มีอะไรมาก แต่ในความเป็นจริง การจะเป็นบริษัทที่ดีและสมบูรณ์ ไม่ได้แค่มีคนเพียงพอ แต่ในแต่ละบริษัทต้องมีคนที่เชี่ยวชาญไว้ดำเนินการงานที่เป็นการเฉพาะด้วย เช่นงานที่เกี่ยวข้องกับบัญชี และ การเงิน เป็นเรื่องที่ใหญ่มากหากเกิดความผิดพลาดในการทำบัญชี โดยเฉพาะการยื่นภาษี หากผิดพลาดไปไม่เพียงแค่ต้องจ่ายเพิ่ม หรือ ต้องโดนสอบบัญชีกันเยอะแยะมากมาย ในบริษัทใหญ่ ๆ มากมายเริ่มแรกก็มีเพียงแผนกบัญชีที่ทำทุกอย่าง ต่อมา ก็ต้องแยกเป็น แผนก บัญชี แผนก การเงิน และแผนกภาษีอากร เพราะงานภาษีเป็นอะไรที่แสนจะซับซ้อน ซึ่งคนที่ทำจะต้องเชี่ยวชาญพอสมควร จึงจะทำได้อย่างถูกต้อง และครบถ้วน เอาแค่เก็บเอกสารต่างๆเราก็แทบกระอักเลือดตาย เพราะมันมีมากมายและหลากหลายซะเหลือเกิน ที่สำคัญ แต่ละประเภทมันมีรายละเอียดปลีกย่อย ยิบยับจนเราสับสนไปหมด ตัวอย่างบัญชีคร่าว ๆที่เราต้องทำเมื่อเปิดบริษัทใหม่ เช่น บัญชีรายวัน ที่มีทั้งบัญชีเงินสด บัญชีรายวันซื้อ ขาย และ บัญชีรายวันทั่วไปที่ต้องดำเนินการ บัญชีแยกประเภท ที่ต้องมี บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สิน บัญชีแยกประเภทรายได้ ค่าใช้จ่าย บัญชีแยกประเภทเจ้าหนี้ ลูกหนี้ แล้วยังต้องมี บัญชีสินค้า สุดท้ายก็ บัญชีรายวัน แค่นี้หากต้องจ้างพนักงานเพื่อมาทำหน้าที่บัญชี ก็เยอะจนทำไม่ทัน ลองมาดูหน้าที่หลักที่เราจะต้องทำเกี่ยวกับงานบัญชีและภาษีของบริษัทเปิดใหม่
1.จะต้องมี ผู้ทำบัญชี ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนถูกต้องตามพรบ.บัญชี พ.ศ. 2543 ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีของบริษัท 1 คน เพื่อเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของนิติบุคคล ทั้งนี้อาจเป็นพนักงานของนิติบุคคล ผู้รับทำบัญชีอิสระ หรือสำนักงานรับทำบัญชีก็ได้
2. จัดทำบัญชีตามกฏหมาย ที่มีหัวข้อเยอะแยะตามประเภทกิจการ นับตั้งแต่วันที่ได้รับจดทะเบียนเป็น บริษัท และส่งมอบเอกสารต่าง ๆ ให้กับ ผู้ทำบัญชี ให้ถูกต้องครบถ้วน
3. ต้องจัดให้มีการปิดบัญชี ในครั้งแรกภายใน 12 เดือนหลังจากจดทะเบียนบริษัท และต้องปิดบัญชีทุกรอบ 12 เดือน นับแต่วันปิดบัญชีครั้งล่าสุด พร้อมจัดทำงบการเงิน อย่างน้อยก็ครั้งหนึ่งทุกรอบ 12เดือน ซึ่งงบการเงินต้องมีผู้สอบบัญชีมาตรวจสอบ และนำเสนอที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทให้อนุมัติงบการเงินภายใน 4 เดือน นับแต่วันปิดรอบปีบัญชีของบริษัท ถึงแม้ บริษัท จะยังมิได้ประกอบกิจการก็ตาม จะต้องส่งงบการเงินด้วย หากไม่ปฎิบัติตามก็มีโทษตามมา ต้องโทษปรับสูงสุดไม่เกินห้าหมื่นบาทเลยทีเดียว